การสอนระบบรายบุคคล (Personalized System of Instruction)
การสอนแบบนี้เรียกย่อว่า PSI เป็นเทคโนโลยีในด้านการสอน ซึ่งได้ใช้ทฤษฎีเสริมแรง ดำเนินการสอนประกอบทั้ง Course การสอนแบบนี้จะใช้วัสดุการสอนหลายอย่างเข้าด้วยกันเช่น อาจเป็นเนื้อหาบทหนึ่งจากตำราเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ฟิล์มสตริป สไลด์ ฯลฯ โดยจัดเรียนวัสดุการสอนเหล่านั้นไว้ตามลำดับ และผู้เรียนจะต้องแสดงให้เห็นว่าได้เรียนอย่างเข้าใจแต่ละหน่วยอย่างดีแล้ว (Mastery Learning) แล้วจึงจะเรียนหน่วยต่อไป โดยจะมีการสอบในแต่ละหน่วยเมื่อผู้เรียนรู้สึกว่าพร้อมจะทำการสอบ
การเรียนการสอนและการสอบจะดำเนินการโดยผู้ที่เราเรียกว่า Proctor ซึ่งอาจเป็นผู้เรียนที่อยู่ในชั้นสูงกว่า อาสาสมัคร ผู้ช่วยสอน โดยไม่จำเป็นต้องเป็นครูอาจารย์ Proctor จะช่วยให้มีความสำพันธ์ระหว่างบุคคลต่อบุคคลเกิดขึ้น จึงเรียกวิธีการสอนแบบนี้ว่า Personalized
มีการพบกันในกลุ่มใหญ่น้อยมาก จะมีบ้างก็เช่นการทบทวนหรือการดูภาพยนตร์หรือโทรทัศน์ร่วมกัน ครูผู้สอนจึงมีหน้าที่ในด้านการวางแผน การออกแบบ การจัดการ และแนะนำผู้เรียนกับ Proctor
PSI มีลักษณะเป็นเทคโนโลยีทางการสอน โดยที่ใช้หลักการของบทเรียนโปรแกรมให้ข้อมูลที่เหมาะกับความสามารถของผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้มีการตอบสนองต่อวัสดุการเรียนการสอนบ่อยครั้ง มีการให้ Feedback หรือคำตอบที่ถูกต้องอย่างทันทีทันใด และยังเป็นลักษณะได้พบกันระหว่างผู้เรียนกับ Proctor เป็นบุคคลต่อบุคคล นอกจากนั้นยังรวมเอาปรัชญาด้าน Mastery Learning เข้าไว้คือ ผู้เรียนจะต้องมีความรู้ ความสามารถเบื้องต้นอย่างดี แล้วจึงเลื่อนขึ้นต่อไปได้
PSI อาจต่างจากบทเรียนโปรแกรมในด้านที่ PSI ไม่ได้ถูกออกแบบให้เป็นไปอย่างมีโครงร่างต่กรอบไว้แน่นอน PSI เป็นการให้แนวทางที่การเรียนการสอนจะเกิดขึ้น โดยผู้เรียนจะเรียนได้ตามความต้องการของตนเอง โดยให้เกิดความกังวลใจน้อยมีการได้รางวัลจากความรู้สึกของตนเอง และไม่เกิดความกดดันถ้ายังไม่พร้อมที่จะทำการสอบก็ยังไม่ต้องสอบ เป็นต้น
การใช้การสอนระบบรายบุคคล (PSI)
Fred S. Keller แห่งมหาวิทยาลัย Brasilla ได้คิดค้นวิธีการสอนแบบ PSI ขึ้นในกลางทศวรรษที่ 1960 ซึ่งได้ประสบผลสำเร็จในการนำไปใช้ได้ทุกวิชาและทุกระดับชั้น อย่างไรก็ตาม การสอนแบบ PSI นั้นต้องการเวลามากในการวางแผนและการสร้างวัสดุการเรียนการสอน และจุดมุ่งหมายะต้องบ่งบอกไว้อย่างละเอียด และการที่ใช้ “Mastery” มาร่วมด้วย ทำให้ใช้วิธีการวัดผลแบบอิงกลุ่มไม่ได้ ซึ่งการเรียนแบบให้เห็นเป็น Mastery นั้น เป็นการมุ่งให้นักเรียนทุกคนได้เกรด “A”
ผศ. ดร. วารินทร์ รัศมีพรหม.สื่อการสอน เทคโนโลยีการศึกษาและการสอนร่วมสมัย:พิมพ์ที่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด, ธันวาคม 2531.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น