ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของฉัน

หน่วยที่ 4

ระบบการสอนด้วยเทปเสียงควบคุม (Audio-Tutorial Systems)
                S.N. Postletwait แห่งมหาวิทยาลัย Purdue ได้คิดสร้างวิธีสอนแบบนี้ขึ้นในต้นทศวรรษที่ 1960
เวลาไล่เลี่ยกับ PSI ซึ่งก็เป็นเทคโนโลยีด้านจัดการสอนเช่นเดียวกันด้วย ระบบการสอนด้วยเทปเสียงควบคุมนี้ส่วนใหญ่จะแบ่งห้องเรียนเป็นช่องๆ มีโต๊ะพิเศษในช่อง (Carrel) ที่ติดตั้งเทปเสียงที่บันทึกเสียงบอกให้ผู้เรียนทำกิจกรรมการเรียนอะไรบ้าง โดยพื้นที่ส่วนนี้เรียกว่า ส่วนการศึกษาอิสระ (Independent Study Session) เทปเสียงนั้นไม่ได้บันทึกการบรรยายเนื้อหา แต่เป็นการสนทนาบอกถึงกิกรรมการเรียนการสอน ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนว่าความรู้สึกว่าผู้สอนได้ยืนแนะนำอยู่ใกล้ๆ
                อุปกรณ์การเรียนการสอนบางชนิด เช่น ภาพยนตร์ วิดีโอเทป อาจใช้ร่วมกันก็ได้ โดยเทปเสียงก็จะบอกถึงการใช้อุปกรณ์เหล่านั้นกับบทเรียนในช่วงตอนที่ต้องใช้ด้วย และภาพเคลื่อนไหวก็บ่งบอกการใช้อุปกรณ์เหล่านั้น เช่น อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ

นอกจาก Independent Study Session แล้ว แล้วระบบการสอนแบบนี้ก็จะมีอีก 2 ตอนประกอบด้วย คือ
1. การพบกันเป็นกลุ่มใหญ่ เรียกว่า General Assembly Session ซึ่งอาจมีการบรรยายโดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีการปฐมนิเทศ การดูภาพยนตร์ร่วมกัน และการสรุปทบทวนในจุดที่สำคัญของบทเรียนตลอดจนการสอบไล่
2. การพบกันเป็นกลุ่มเล็ก เรียกว่า Small Assembly Session จะมีผู้เรียนราว 6-10 คนมาพบกับผู้สอน โดยอาจมีการให้งานต่อผู้เรียน โดยผู้เรียนทุกคนจะต้องบรรยายเนื้อหาหน่วยสั้นๆ หน่วยใดหน่วยหนึ่งของวิชา และผู้อื่นในกลุ่มก็อาจให้ข้อคิดเห็นหรือซักถาม ส่วนครูผู้สอนเป็นผู้ประสานงาน ซึ่งการประชุม กลุ่มเล็กนี้จะช่วยในการปรับปรุงในส่วนบกพร่องของระบบการสอนแบบนี้ได้ด้วย
การสอนด้วยเทปเสียงควบคุม ถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยีของการสอน เพราะเป็นการสอนอย่างมีระบบ และค่อนข้างจะเป็นการปฏิบัติการ มีหลักการอยู่บนความแตกต่างระหว่างบุคคล และใช้หลักการเรียนรู้ของมนุษย์ด้วย โดยที่ 1. เทปเสียงนั้นจะต้องให้ถูกต้องตามทฤษฎีการสื่อสาร เช่น บุคคลที่อัดบันทึกเสียงลงไปต้องเป็นผู้ที่เชื่อมั่นในหลักวิชาการ  2. สื่อการเรียนที่ใช้มีลักษณะเป็นรูปธรรมมาก เช่น ของจริง สไลด์ วีดีโอเทป 3. เรียนเร็วหรือช้าไปตามความสามารถที่แตกต่างกันระหว่างบุคคล และ 4. เน้นในหลักของมนุษย์สัมพันธ์
การใช้ระบบการสอนด้วยเทปเสียงควบคุม
                ระบบการสอนแบบนี้เรียกย่อว่า A-T เริ่มใช้กันมากในวิทยาศาสตร์ และขยายไปสู่วิชาอื่นๆ            การเตรียม A-T ค่อนข้างที่จะใช้เวลามากเช่นเดียวกับ PSI แต่การเตรียมการสอนประกอบอาจใช้วัสดุในท้องถิ่น โดยเฉพาะของจริงทั้งหลาย
                เนื่องจากการสอนแบบนี้ค่อนข้างจะเป็นลักษณะอิสระและเอกัตบุคคล ผู้เรียนจึงจะต้องค่อนข้างคล่องแคล่ว กระตือรือร้น (Active) จึงจะได้ผลดี และเทปเสียงควบคุมการเรียนนั้น จะต้องมีลักษณะแบบ สนทนา ไม่ใช่การบันทึก คำบรรยาย เนื้อหาวิชา

 ที่มา
 ผศ. ดร. วารินทร์ รัศมีพรหม.สื่อการสอน เทคโนโลยีการศึกษาและการสอนร่วมสมัย:พิมพ์ที่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด, ธันวาคม 2531.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น